» » วิธีทำ On-Page SEO อย่างไรถึงจะเรียกว่าสมบูรณ์แบบ


เนื้อหาของบทความนี้เป็นมุมมองของ Brian Dean (จากเว็บ backlinko.com) ที่มีต่อแนวคิดพื้นฐาน 12 ข้อของ On-page SEO Factor สามารถดูรายละเอียดของ Onpage SEO Factor แบบ Info Graphic (ที่นี่ครับ) ส่วนบทความต้นฉบับอ่านได้ได้ที่ On-Page SEO: Anatomy of a Perfectly Optimized Page
Factor 1. การมี Keyword ใน URLs (SEO Urls Friendly)
seo_urls
URLs ไม่ควรยาวมากจนเกินไปและมี Keyword ที่เกี่ยวข้องกับบทความรวมอยู่ด้วย ตัวอย่างของ URL ที่ดีและไม่ดี
  • ดี => www.backlinko.com/on-page-seo-is-so-amazing-omg-its-the-best
  • ไม่ดี => www.backlinko.com/p=123
Keyword ควรใส่ไว้ในจุด 3-5 คำแรกของ URL จะดีที่สุด อ้างอิงตามบทสัมภาษณ์ของ Matt Cutt (Google has stated)
มุมมองของ Brian Dean : จากการทดสอบของ backlinko.com เห็นด้วยกับการใช้ Keyword Rich ใน URls ครับ
Factor 2. การเริ่ม Title ของบทความด้วยคีเวิดที่เป็นเป้าหมายในการทำอันดับบนผลการค้นหา (Start Title With Keyword)
titleMoz.com ได้ทำการทดลองในเรื่องนี้ และ พบว่าการที่เราเริ่มต้นบทความด้วยคีเวิดเป้าหมาย จะส่งผลต่ออันดับบนผลการค้นหา
มุมมองของ Brian Dean : เห็นด้วยกับการใช้ Keyword ในส่วนเริ่มต้นของชื่อบทความ (ในกรณีที่สามรถทำได้) เพื่อผลด้าน SEO เพราะมีผลการทดสอบของเว็บไซต์ของที่รองรับความเชื่อนี้ครับ
multimedia
Factor 3 การมีสื่อ Multimedia ในเนื้อหา
Multimedia หมายถึงสื่อหลากหลายรูปแบบ เช่น รูปภาพ , Video , ตาราง , Diagram ต่างๆ  ซึ่งทั้งหมดนี้ สามารถช่วยเพิ่มความน่าสนใจของเนื้อหา ช่วยลดอัตราการปิดเว็บทิ้ง (bounce rate) ของ User และ เพิ่มเวลาที่คนอยู่ในหน้าเว็บไซต์ของเรา (time on site) ซึ่งเป็น 2 ปัจจัยด้าน user interaction-based ที่ Google ใช้ในการจัดอันดับบนผลการค้นหา
มุมมองของ Brian Dean : เค้าเห็นด้วยกับเรื่องนี้มากๆ เพราะการมีส่วนประกอบอื่นๆ ที่ช่วยเพิ่มคุณภาพหรือความน่าสนใจในเนื้อหา มันตรงตามวัตถุประสงค์ของการทำเว็บไซต์เพื่อผู้ใช้งานอยู่แล้ว นอกจากจะส่งผลดีต่อการทำ Ranking (user interaction-based factor) แล้ว มันยังเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับเว็บไซต์และเนื้อหาของเราด้วย
Backlink
Factor 4. การทำ Links ออกจากเนื้อหา
การทำลิงค์ออกจากเนื้อหาไปยังหน้าเพจที่เกี่ยวข้องกันเป็นอีก 1 ปัจจัยที่ช่วยให้ Google เข้าใจเนื้อหาในเพจของเรา และในการทดสอบผลลัพธ์ของการทำลิงค์ออกไปยังหน้าเพจที่เป็น Authority Site ช่วยให้อันดับในผลการค้นหาในคีเวิดที่เกี่ยวข้องกับเพจดีขึ้น
มุมมองของ Brian Dean : สำหรับ Brian ปกติแล้วทุกๆ 1000 Word ของเนื้อหาที่เขียนในเว็บไซต์จะมี 2-4 Link ออกจากเนื้อหา ซึ่งจะลิงค์ำไปยัง Authority Site หรือ เนื้อหาที่เกี่ยวข้องภายใยเว็บไซต์ของตนเองเท่านั้น มีข้อควรระวังเรื่องการทำลิงค์ คือ ต้องระวังการทำลิงค์ที่จะส่งผลต่ออันดับของคีเวิดเป้าหมายของเรา (อย่ายิงลิงค์ไปยังเว็บไซต์อื่น ด้วยคีเวิดที่เราต้องการจะทำอันดับ แล้วโดนเว็บที่เราส่งลิงค์ไปให้แซงขึ้นมาอยู่อันดับสูงกว่า)
keywordFactor 5. การใช้ Keyword ในส่วน 100 คำแรกของเนื้อหา
มุมมองของ Brian Dean : สำหรับ Brian แล้วเค้าแนำนำความเป็นธรรมชาติของการใส่คีเวิดในเนื้อหาช่วงแรกครับ เพราะมันมีสิ่งสำคัญญิงกว่า SEO คือ ความพึงพอใจของ User ช่วงพารากราฟแรกจึงเป็นสิ่งสำคัญมากๆ เพราะคนจะอ่านบทความนี้หรือจะปิดหน้าเว็บทิ้งไป ก็ขึ้นอยู่กับส่วนนี้ครับ ดังนั้นใส่ Keyword ได้แค่ต้องทำให้เป็นธรรมชาติและเขียนให้น่าสนใจที่จะอ่านต่อ
h1
Factor 6 ใช้ Title ของบทความเป็น H1
H1 เป็น headline tag ที่บอกกับ Search Engine ว่าบทความหรือเนื้อหาในหน้านี้เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร
h1_tagมุมมองของ Brian Dean : H1 เป็นจุดสำคัญมากสำหรับการตรวจสอบให้แน่ใจว่า หัวข้อบทความของคุณเป็น H1 Tag เพียง 1 จุดเท่านั้น ยกเว้นในกรณีที่เว็บไซต์ของคุณเป็น HTML5 ซึ่งสามารถมี H1 ในหน้าได้มากกว่า 1 จุด
Google-Page-Speed-Service
7. ความเร็วในการเปิดหน้าเว็บไซต์มีผลต่ออันดับบนผลการค้นหา
Page loading speed เป็น 1 ในปัจจัยที่ Google ใช้ในการจัดอันดับผลการค้นหา ซึ่งสามารถใช้ CDN หรือ การลดขนาดของรูปภาพต่างๆ ในหน้าเว็บให้มีขนาดลดลง ซึ่งมีการทดลองจาก MunchWeb ที่พบว่าถ้าหากหน้าเว็บโหลดนานกว่า 4 วินาที 75% ของคนจะปิดเว็บไซต์ออกไปทันที ( bounce rate เพิ่มขึ้น)
มุมมองของ Brian Dean : ความเร็วของเว็บไซต์เป็นปัจจัยที่สำคัญมากสำหรับ Google Algorithm ในปัจจุบัน แต่การที่จะอาศัยแค่ Cache Plugin หรือ CDN นั้นยังไม่เพียงพอ วิธีที่ดีที่สุด คือการย้ายเว็บไซต์ไปยัง Web Hosting ที่มีคุณภาพดีกว่า ซึ่งราคาจะเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิม คนส่วนใหญ่นิยมใช้ Budget Web Hosting เช่น Hostgator หรือ Shared Hosting ต่างๆ ซึ่งไม่มีประสิทธิภาพด้านความเร็ว ซึ่งปัจจุบันเว็บไซต์ Backlinko.com ใช้ Premium Web Hosting ของเจ้านี้อยู่ครับ
How-to-get-better-click-through-rate8. การใช่ วันที่ หรือ คำประเภทที่ช่วยเพิ่มความน่าสนใจของ Title
เช่น การใส่ปี “2014″, หรือคำว่า “best”, “guide”,  and “review” สามาร่วยในการทำอันดับ สำหรับLongtail Keyword ที่เกี่ยวข้องกับ คีเวิดเป้าหมายของเนื้อหาได้ (target keyword)
มุมมองของ Brian Dean : วิธีนี้ถือเป็นเป็นเทคนิคที่ดีเลยในการเพิ่มขอบเขตของผลการค้นหาที่สามารถเป็นไปได้ของบทความ ตัวอย่างเช่น ชื่อบทความนี้ “On-Page SEO: Anatomy of a Perfectly Optimized Page” ด้วยวิธีง่ายๆ นี้คุณสามารถเพิ่มความน่าวนใจของบทความ เพิ่มอัตราการคลิก ให้กับบทความได้
social-share
9. การใช้ปุ่ม Social Sharing บนเว็บเพจ
ในปัจจุบันนี้ Social Sharing กลายเป็นปัจจุยที่มีผลต่อ Search Algorithm เป็นอย่างมาก จำนวนการกดแชร์เหมือนเป็นเครื่องชี้วัดว่าบทความเป็นบทความที่ดี หรือ เว็บไซต์ไหนเป็นเว็บคุณภาพ ดังนั้น Search Engine จึงนำมาใช้เป็นปัจจัยในการจัดอันดับ
มุมมองของ Brian Dean : Social Sharing ยังไม่ได้มีผลต่อ Search Engine ในระดับที่มีความสำคัญมากนัก แต่เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับการเพิ่มทราฟฟิคเข้าเว็บไซต์ อย่าลืมว่าเราทำ SEO กันก็เพื่อให้ได้ทราฟฟิค ซึ่ง Social Sharing สามารถเพิ่มทราฟฟิคให้กับเราได้
long-content10. การเขียนเนื้อหาแบบยาวๆ
มีคำกล่าวที่ว่า “เนื้อหายิ่งยาวยิ่งดี” ซึ่ง SERPIQ.com ได้มีการทดสอบความเชื่อดังกล่าวว่าจริง! เนื้อหาที่ยาวกว่ามีระดับของการทำอันดับที่ดีกว่าในผลการค้นหาที่ Google อย่างน้อยควรพิจารณาเนื้อหาที่มีความยาว 1500 คำสำหรับการทำอันดับในคีเวิดเป้าหมาย
มุมมองของ Brian Dean : บทความส่วนใหญ่ในเว็บไซต์ของ backlinko.com จะเน้นที่การมีเนื้อหาที่มีประโยชน์กับผู้ใช้ ดังนั้นส่วนใหญ่แล้วความยาวของบทความมันจะเกิด 1000 Word อยู่แล้วครับ ซึ่งด้วยเนื้อหาที่มีความยาวย่อมนอกจากจะเพิ่มความสามารถในโอกาสของการทำอันดับในคีเวิดเป้าหมาย ยังเพิ่มโอกาสในการที่เว็บไซต์จะสามารถมีอันดับใน Long tail Keyword ด้วยเช่นกัน
bounce_rate_leverage11. Bounce Rate ยิ่งเยอะ ยิ่งส่งผลต่อการถูกลดอันดับ
Google สามารถตรวจจับ  Bounce Rate (การเข้ามายังหน้าเพจแล้วปิดหน้าออกไป) ของเว็บไซต์ได้จาก Google toolbar, Chrome browser, หรือ Google Analytic ซึ่งยิ่งเว็บไซต์ไหนมีค่า ที่สูงย่อมหมายถึง User ไม่ชอบเนื้อหาในเว็บเพจนั้น ย่อมส่งผลต่อการค่อยๆ ถูกอันดับลงในผลการค้นหา
มุมมองของ Brian Dean : คิดว่า Bounce Rate ไม่ถึงกับเป็นปัจจัยหลังในส่วนของปัจจัย user experience metrics ที่ Google ใช้ เจ้าของ Web Site ควรใส่ใจ Bounce Rate เพื่อเพิ่มความพอใจให้กับ User มากกว่าที่จะทำเพื่อเอาใจ Google คำแนะนำที่ Briant แนะนำ คือ ลองทำ Text ในพารากราฟแรกของเนื้อหา เพื่อให้ User กำลังจะปิดหน้าไปมีทางเลือกอื่นๆ คือ คลิกลิงค์ไปดูบทความอื่นที่เกี่ยวข้องแทน เพราะโดยทั่วไปคนที่เข้าเว็บมาอย่างๆน้อย ก็จะอ่านเนื้อหาในส่วนแรกของหน้า
LSI-Keywords12. การใส่ LSI Keywords ให้ทั่วทั้งเนื้อหา
LSI คีเวิด คือ คำที่มีความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงกัน ที่ Google ใช้ในการตัดสินความเกี่ยวข้องกันของเนื้อหา
มุมมองของ Brian Dean : โดยส่วนตัว เค้าไม่ได้มานั่งใส่ LSI ให้กับเนื้อหาในเว็บไซต์เลยครับ สิ่งที่เค้าทำ คือ การเขียนเนื้อหายาวๆ ซึ่งมันจะค่อยๆ เป็นการเพิ่มคีเวิด LSI เข้าไปเองแบบอัตโนมัติ แต่ถ้าใครจะเอาแนวคิดของ LSI ไปใช้ สิ่งที่ Biran แนะนำ คือ ให้ทำการ Search ที่ Google ด้วยคีเวิดเป้าหมายของคุณ แล้วเลื่อนลงมาดู Suggest Keyword ที่ Google แสดงขึ้นมาด้านล่าง นำคีเวิดชุดนี้มากระจายใส่ในบทความได้เลย

onpage-seoปัจจัย Onpage SEO เพิ่มเติมจาก Info Graphic

1. Quality Content: ซึ่งมีวิธีอื่นๆ ที่ Search Engine สามารถใช้ตัดสินว่าเนื้อหามีคุณภาพหรือไม่ เช่น
  • Repeat visitors : การกลับมาของคนเข้าเว็บ
  • Chrome bookmarks : การ Bookmark หน้าเว็บของ Chrome Web Browser ยิ่งมีคน Bookmark หน้าเว็บไหนมาก แสดงว่า เว็บนั้นเป็น High Quality Website
  • Time on site : เวลาที่ User ใช้ในการอยู่ในเว็บ ยิ่งนาน ยิ่งดี
  • Dwell time เป็นการวัดเวลาที่ User อยู่บนเว็บเพจก่อนที่จะกดปุ่ม Back กลับมาที่ Google เช่น ถ้าคนคลิก Back กลับมาแทบจะทันที่ที่เข้าไปดูเว็บไซต์ AAA นั่นแสดงว่าเว็บไซต์เป็น Low Quality Website

2. Internal Links: : การทำลิงค์ไปยังหน้าที่เกี่ยวข้องภายในเว็บไซต์เดียวกัน เช่น Wikipedia ที่ถือได้ว่าเป็นที่สุดของ Internal Link (อย่าใส่เยอะแบบ Wikipedia นะครับ เว็บปกติ 3-6 Link ก็พอแล้วสำหรับ Internal Links)
Wikipedia Internal Linking
3. H2 and H3 Tags: ควรมีการเพิ่มคีเวิดเข้าไปในส่วนของ หัวข้อย่อยของบทความ ที่เป็น tag H2 , H3
4. Image Optimization: เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน การใส่ alt ด้วยคีเวิด และ การตั้งชื่อไฟล์รูปภาพด้วยคีเวิด เป็นอีก 1 ตัวช่วยสำหรับการทำ SEO

ที่มา:http://passiveincome.in.th/

«
Next
บทความใหม่กว่า
»
Previous
บทความที่เก่ากว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

Leave a Reply

//SEO SCRIPT POWERED BY www.seoinsiter.com